Bollinger Bands เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางเทคนิคที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นกัน เป็นเครื่องมือที่ใช้ดูเทรนด์และการกลับตัวเป็นหลัก บ่งบอกถึงความต่อเนื่องและการเคลื่อนที่ของราคา นักเทคนิคโดยส่วนใหญ่ จะนิยมใช้ Bollinger bans วิเคราะห์ ในกราฟระยะสั้นๆ เช่น รายวัน หรือรายสัปดาห์ มากกว่ารายปี ผู้ที่คิดค้นคือ นาย จอห์น โบลินเจอร์ (John Bollinger)
เขาเป็นนักเล่นหุ้นทางเทคนิค โดย Bollinger Bands นั้น เขาได้พัฒนาและต่อยอดมาจาก การใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ (Moving Average Envelopes) รูปลักษณ์ของ Bollinger Bands จะประกอบด้วยสามเส้น คือ เส้นบน = Upper Band ( BB Top) เส้นกลาง = Middle Band (BB average) และเส้นล่าง = Lower Band (BB Bottom) เมื่อเส้นทั้งสามนี้ทำงานร่วมกันบนกราฟแล้ว ภาพที่ออกมาก็จะคล้ายๆ ตัวหนอน หรือไส้เดือน 3 ตัวที่กำลังทำงานกันอย่างเป็นทีม มีความกลมเกลียวแน่นแฟ้นกันเป็นอย่างดี บางทีก็ใกล้ชิด บางทีก็อยู่ห่างๆอย่างห่วงๆ แบบว่าจะไม่ทอดทิ้งกันไปไหนเลยก็ว่าได้ (รักกันจังน่ะเรา ฮ่าๆๆ) สำหรับการตั้งค่าใช้งานนั้น โดยปกติจะนิยมใช้ตามต้นฉบับที่ MT4 ให้มา คือกำหนด Period ไว้ที่ 20 ตามตัวอย่างตัวอย่าง การตั้งค่าและเปิดใช้งาน
ให้ไปที่ Insert ˃ Indicator ˃ Trend ˃ Bollinger Bands ˃ กำหนดค่า (เอาตามต้นฉบับ) ˃ ตกลง
ประโยชน์และการใช้งาน Bollinger bands
- ใช้วัดความผันผวนของตลาด
- ใช้เป็นแนวรับและแนวต้าน
- ใช้หาแนวโน้มของราคา
- ใช้ดู Overbought, Oversold (ซื้อหรือขายมากเกินไป)
- ใช้เทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Breakouts
1. ใช้วัดความผันผวนของตลาด Bollinger Bands สามารถบอกเราให้ทราบว่า สถานะของตลาดเป็นยังไง กำลังคึกคัก หรืออยู่ในช่วงเงียบซบเซา โดยให้ดูจากเส้น คือถ้าเส้นมีลักษณะ บีบ ชิดเข้าหากัน แบบแคบๆ นั้นหมายถึงตลาดกำลังเงียบเชียบหรืออยู่ในช่วงซบเซาอยู่ แต่ถ้าเส้นแยกออกจากกัน แล้วอยู่ห่างๆ กันเมื่อไหร่ นั้นหมายถึง ตลาดมีความคึกคัก บ่งบอกว่ามีนักลงทุน กำลังมีการซื้อ-ขาย กันเป็นจำนวนมาก
ตัวอย่าง
2. ใช้เป็นแนวรับและแนวต้าน Bollinger Bands ที่ประกอบกันด้วย 3 เส้นนั้น จะเคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มของราคา โดยมีหน้าที่แตกต่างกันดังนี้
- เส้นบน หรือ Upper Band = ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน
- เส้นกลาง หรือ Middle Band = ทำหน้าที่เป็นทั้งแนวรับและแนวต้าน
- และเส้นล่าง หรือ Lower Band = ทำหน้าที่เป็นแนวรับ
ตัวอย่าง
3.ใช้หาแนวโน้มของราคา เราสามารถนำ Bollinger Bands มาใช้เพื่อหาแนวโน้มของราคา ดังนี้
- แนวโน้มขาขึ้น = ลักษณะของราคาจะอยู่บริเวณเส้นขอบบน และไม่ค่อยจะทะลุเส้นขอบกลางลงไปได้
- แนวโน้มขาลง = ลักษณะของราคาจะอยู่บริเวณเส้นขอบล่าง และไม่ค่อยจะทะลุเส้นขอบกลางขึ้นไป
- แนวโน้มของราคาที่อยู่ในรูปแบบ Sideway = เมื่อราคาเพิ่มขึ้นจนถึงเส้นขอบบน แล้วเกิดการกลับตัวเปลี่ยนจากขึ้นเป็นลง นั้นหมายถึงแนวโน้มราคากำลังจะลง (เป็นสัญญาณขาย) ในทางกลับกัน ราคาที่ลดลงจนชนเส้นกรอบด้านล่าง จากนั้นเกิดการกลับตัว เปลี่ยนจากลงเป็นขึ้น นั้นหมายถึง แนวโน้มราคากำลังจะขึ้น (เป็นสัญญาณซื้อ)
ตัวอย่าง ใช้ Bollinger Bands หาแนวโน้มขาขึ้น
ตัวอย่าง ใช้ Bollinger Bands หาแนวโน้มขาลง
ตัวอย่าง แนวโน้มของราคาที่อยู่ในรูปแบบ Sideways
4.ใช้ดู Overbought, Oversold (ซื้อหรือขายมากเกินไป) กรณีใช้ดูการซื้อหรือขายที่มากเกินไปนั้น ก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก
เพียงแค่ดูจากเส้น ก็เข้าใจได้โดยง่าย วิธีการดูหรือแปลความหมายคือ เส้นขอบบน (Upper Band) หมายถึงการซื้อที่มากเกินไป
เส้นขอบล่าง (Lower Band) หมายถึงการขายที่มากเกินไป ฉะนั้นเส้นขอบกลาง (Middle Band) ก็คือการซื้อหรืขายที่อยู่ในระดับปานกลางหรือเท่าเทียมกัน นั้นเอง
ตัวอย่าง
5.ใช้เทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Breakouts
การเทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Breakouts คือการเข้าเทรดทันที เมื่อราคาเกิดการทะลุแนวต้าน หรือแนวรับ โดย Bollinger bands สามารถนำมาใช้ได้ในทุกสภาวะของตลาด ไม่ว่าจะช่วง ขาขึ้น ขาลง หรือ ไซต์เวย์ แต่การนำไปใช้ในตลาดที่แตกต่างกัน ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนบางกลยุทธ์หรือเทคนิค เพื่อให้เข้ากับสถานะการณ์ของตลาดในปัจจุบัน การใช้งานนั้นก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงแค่ดูราคาที่มันทะลุ แล้วก็เข้าเทรดตาม แนวโน้ม หรือภาวะของตลาดที่กำลังเป็นอยู่
ตัวอย่าง ใช้เทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Breakouts
ตามตัวอย่างจะเห็นว่า เมื่อตลาดเงียบ ความผันผวนจะต่ำทำให้เส้น Bollinger bands บีบตัวเข้าหากัน จากการที่บีบตัวเข้าหากันมากๆ นี่ ถือเป็นโอกาสที่ดี ในการหาจุดทะลุแนวรับหรือแนวต้าน (Breakouts) ในการเข้าเทรด ตามกลยุทธ์ป
ในการใช้ Bollinger bands นั้น ถ้าจะให้ดี ควรใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัว อื่นๆ ประกอบด้วย เช่น Commodity Channel Index (CCI) , Relativa Strength Index (Rsi) , Oscillators (OCT) เพราะบางจังหวะ หรือบางสถานะการณ์ เพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้น ควรมีอินดิเคเตอร์ ตามที่ยกตัวอย่าง มาช่วยยืนยันอีกที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น