วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

# Stochastics



Fast and Slow Stochastics 
(จะให้สัญญาณที่เร็วกว่า RSI ในตลาดการซื้อขายใครรู้สัญญาณเร็วกว่าคนนั้นได้เปรียบ)

เป็นเครื่องมือที่นิยมกันมาก สำหรับตลาดแกว่งตัวแบบ Sideways Fast Stochastics และ Slow Stochastics ใช้วัดการแกว่งตัวของตลาด โดยมีค่าการแกว่งตั้งแต่ 0-100 และมีเส้นที่เป็นตัววัดอยู่ 2 ตัวคือ %K และ %D โดย %D เป็นสัญญาณหลัก หลักการใช้งานก็เหมือนกับการใช้งานวัดการแกว่งตัวอื่นๆ

1. เมื่อ Stochastics มีค่ามากกว่า 80 จะเข้าเขตการซื้อมากเกินไป (Overbought)
2. เมื่อ Stochastics มีค่าน้อยกว่า 20 จะเข้าเขตการขายมากเกินไป (Oversold)
3. เมื่อ %K ตัด %D ขึ้นไป เป็นสัญญาณซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดขึ้นในบริเวณ (Oversold)
4. ตรงกันข้าม เมื่อ %K ตัด %D ลงไป เป็นสัญญาณขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดขึ้นในบริเวณ (Overbought)





     ความแกว่ง มีเวลาเป็นตัวกำหนด เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนเราขับรถ แบบเกียร์ธรรมดา เราขับรถ เราเข้าเกียวร์ 1 แล้วเราเหยีบคันเร่ง จนรอบเครื่อง สูงมาก และไม่สามารถสูงต่อไปได้อีกแล้ว (แต่ระยะทางที่รถวิ่งได้ ดันได้ไม่มาก) เปรียบเทียบได้กับ ราคาเข้าเขตการซื้อมากเกินไป (Overbought) จนมากไปกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว

     ตรงกันข้าม หากเราถอนคันเร่ง รอบเครื่อง จะต่ำมาก ต่ำจนเครื่องจะดับ และต่ำไปมากว่านั้นไม่ได้อีกแล้ว เขาเรียกว่า เขาเขต (Oversold)

     หลักการการแกว่ง ดูๆไปแล้ว ก็คล้ายๆกับ ความเร่ง ในวิชาฟิสิกส์มากเลยนะเนี๊ยะ เช่น จรวดขึ้นดวงจันทร์ ตอนออกตัวจากพื้นโลก ความเร่ง (ความแกว่ง) จะขึ้นสูงมาก (สูงกว่าเส้น 80-100) จนจรวดเร็วได้ที (เพราะไม่สามารถข้ามขีดจำกัดความเร็วของจรวดได้) และเริ่มมีความเร็วคงที ความแกว่งก็จะลดลง พอไปถึงดวงจันทร์ สมมุติจรวดติดเบรก ABS เบรคอย่างแรง ความเร็วจรวดจาก 2 พัน กม./ ชม. เหลือ 1 กม./ชม. ภายใน 2 วินาที ความเร่ง (ความแกว่ง) ด้านลบ จะลดลงอย่างรวดเร็ว เหมือนเส้น Stochastics ลงต่ำกว่า เส้น 20-0 หลักการพอๆจะเป็นแบบนี้แหละ งงไหม

     อธิบายรูปข้างบนใหม่ ลืมอธิบาย รูปนี้เป็นดัชนีที่เราเรียกว่า Stochastics หลักการคล้ายๆ MACD มาก เพียงแต่ Stochastics ตัวนี้ใช้วัดค่าความแกว่ง นั้นคือ ถ้า Stochastics อยู่ที่เส้นค่า 50 ถือว่าความแกว่งน้อย แต่ถ้าเกิน 80 หรือต่ำว่า 20 คือความแกว่งมาก
     เส้น Stochastics เราจะเห็น 2 เส้นคือ เส้นสีเขียว เราเรียกว่า เส้น %K เส้นนี้ถ้าจะให้เทียบกับเรือ ก็คือ เรือแจวลำเล็กๆ ที่นึกจะเลี้ยวก็เลี้ยว แต่ไม่รู้ว่า ไอ้ที่เลี้ยวๆ คือเลี้ยวจริงหรือป่าว หรือเลี้ยวหลบกอผักตบชวา 

ส่วนเส้น สีม่วง หรือ เส้น %D ถ้าจะให้เทียบ ก็เหมือน เรือไททานิค ที่จะเลี้ยวแต่ละทีจะอุ๊ยอ๊าย เลี้ยวยากมาก แต่ถ้าจะเลี้ยวแล้ว ก็คือจะเลี้ยวจริงๆ สัญญาณจะชัดกว่า

     เขาจึงเอาทั้งเรือแจว ที่สัญญาณเร็ว แต่ไม่แน่นอน กับเรือไททานิค ที่สัญญาณช้า แต่ชัวร์ มาบวกกัน เกิดเป็น 2 เส้นนี้ เพราะ ในการซื้อขาย เราต้องการทั้ง สัญญาณที่เร็ว และสัญญาณที่ชัวร์ นั่นเอง โอ้ยเหนื่อย แต่ความจริงหลักการนี้ก็เป็นหลักการของ MACD เช่นกัน เดียวหารูปเรือไททานิคมาให้ดูดีกว่า 

ต่อไปเรามาดูว่า สัญญาณไหนแรงกว่ากัน 


เรารู้แล้วว่า เส้น %K (เรือแจว) "ตัดขึ้น" เส้น %D (เรือไททานิค) มันเป็นสัญญาณราคาขึ้น และสัญญาณจะชัดขึ้นอีก ถ้า การตัดนั้น อยู่ใต้เส้น 0-20 

แต่รูปนี้ (รูปด้านซ้าย) เราจะมาดู สัญญาณ การตัดหน้า และการตัดหลัง ดูรูปแรก เรียกว่า การตัดด้านหน้า เหมือนเรือแจ๋ว เลี้ยวตามเรือไททานิค รูปแบบนี้ สัญญาณราคาขึ้น มีแน่ แต่จะแรงน้อยกว่า สัญญาณตัดหลัง

ดูในรูปที่ 2 (รูปด้านขวา) สัญญาณตัดหลัง หรือ เรือแจว ซัดโค้งด้วยความเร็วสูง เกือบปาดหน้าเรือไททานิค สัญญาณ แบบนี้จะแรงกว่า เหมือนกับเรือแจว ปาดหน้าบอกกับเรือไททานิคว่า "สัญาณขายหมดแล้วโว้ย" จากนั้น เรือไททานิคก็เลี้ยวหัวขึ้นตาม
.
รูปนี้ ก็ RSI อีกเช่นกัน เรือแจว กับเรือไททานิคอีกแล้ว หลักการเหมือน MACD 
รูปทางด้านซ้าย เรียกรูปแบบนี้ว่า KNEE แปลเป็นไทยว่า "หัวเขา" รูปที่เขาว่าเป็นหัวเขา อธิบายว่า เรือแจว วิ่ง ปาดหน้าเรือไททานิค และเป็นสัญญาณขึ้น พอขึ้นไปซักพัก เรือแจวเลยวิ่งไปเบียดเรือไททานิค แต่เรือไททานิคบอกให้ขึ้นต่อ ก็เลยเป็นสัญญาณขึ้นที่ชัดเจน

ตรงกันข้ามกับรูปด้านขวา ที่เรียกว่า SHOULDER แปล เป็นไทยว่า "หัวไหล่" เหมือนตรงไหนฟ๊ะ ฝรั่งชอบตั้งชื่อแปลกๆ น่าจะเป็นบันไดมากกว่า หลักการก็คล้ายๆกัน เป็นการยืนยันสัญญาณลงที่แข็งแกร่งนั้นเอง

************************************

ตัวอย่างเส้น Stochastics 
     indicater มีอยู่ประมาณ 50 ตัว แต่ 4ตัวนี้ เป็นสัญญาณที่ค่อนข้างแน่นอนกว่าอันอื่น ถ้าเราใช้สิ่งที่เขาใช้กัน ก็จะได้ความเชื่อที่เหมือนๆกันด้วย ดูรูปตัวอย่างจากของจริง

ลงสังเกตุดู ว่าเส้น %K ตัดด้านหน้าหรือด้านหลัง 


SpyLove.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น